วิธีจัดวางเฟอร์นิเจอร์ให้สะดุดตา
วิธีจัดวางเฟอร์นิเจอร์ให้สะดุดตา
เบื่อการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ในห้องนั่งเล่นเดิม ถ้าลองย้าย หรือสลับมุมบ้างก็น่าจะดี
แต่จะทำอย่างไร ยังนึกไม่ออกเลย ... ไม่ต้องกังวล เรามี 4 วิธีจัดห้องรับแขก ที่ทำง่าย โดนใจ
และยังคงการใช้งานไว้ได้อย่างครบถ้วน
1.ตัดใจไม่ลง (ของเก่า-ของใหม่)
วิธีการผสมผสานของเก่ากับของใหม่ไม่ยากอย่างที่คิด เพียงแค่ต้องเลือกก่อนว่า
อยากให้ห้องมีบรรยากาศแบบไหน ถ้าชอบอารมณ์เก่าๆ ก็ใช้ของเก่ามากหน่อย
แล้ววางเฟอร์นิเจอร์สมัยใหม่เรียบง่ายเป็นจุดเด่น แต่ถ้าอยากได้อารมณ์ของใหม่เป็นตัวนำ ให้เลือกใช้เก้าอี้
หรือเฟอร์นิเจอร์เก่าแต่เก๋า เช่น มีรูปทรงที่เด่นชัด หรือใช้วัสดุที่เตะตาแต่ต่างสไตล์กัน ยกตัวอย่าง
ถ้าผนังเป็นปูนเปลือยแบบดิบ ลองหาเฟอร์นิเจอร์ใหม่สีจัดจ้า และเฟอร์นิเจอร์ไม้เก่ามาจัดวางร่วมกันสัก 2-3 ตัว
2.เดินสบาย ... ทางสะดวกด้วยขอบเขตแห่งสี
ทางเดินสัญจรภายในห้องเป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง ที่ควรนึกถึงเป็นอันดับต้นๆ เพราะ การจัดวางแปลนที่ดี
ควรมีระยะการใช้งานที่คล่องตัว ไม่เกะกะจนเดินไม่ได้ และไม่กว้างเกินไปจนห้องโหรงเหรง
โดยมาตรฐานแล้ว ทางเดินสัญจรภายในห้องที่เหมาะสม ควรเว้นไว้ประมาณ 90-120 เซนติเมตร
สามารถเดินสวนกันได้โดยไม่ชนกัน นอกจากนี้ การเว้นทางสัญจรในส่วนทางเชื่อมให้มากกว่า
ปกติประมาณ 120 -150 เซนติเมตร เช่น โถงหน้าบ้านที่ติดกับห้องนั่งเล่น ก็ช่วยแยกการใช้งานได้ชัดเจนขึ้น
โดยอาจแยกพื้นที่ด้วยวัสดุปูพื้น เช่น ไม้หรือพรม
อีกทางหนึ่งที่ง่าย และชัดเจนคือ สีสัน ที่ช่วยให้ห้องเป็นระเบียบ และทันสมัย
ถ้าเป็นสีสดอย่างคู่สีตรงข้ามก็เหมาะกับบ้านสไตล์โมเดิร์น ช่วยเพิ่มความสดชื่น
หรือถ้าเป็นโทนสีใกล้เคียงกัน ก็เหมาะกับบ้านสไตล์คอนเทมโพรารี
3.วางอย่างมีศิลปะ
ใครว่าการจัดวางแบบนี้ดูโล่ง และตั้งใจเกินไป เราว่าวิธีนี้สามารถดึงความเป็นศิลปินในตัวเจ้าของห้องออกมาได้
เป็นอย่างดี เพราะการจัดวางแบบนี้ เป็นแบบตามใจตัวเองสุดๆ ไม่ว่าจะวางโซฟากับเก้าอี้แค่ตัวเดียวในพื้นที่โล่ง
นำหมอนใบใหญ่มาวางที่พื้น หรือจะวางของใช้ใกล้มือรวมกลุ่มบนโต๊ะให้ใกล้มือยิ่งกว่าเดิม
เพื่อให้ใช้สอยได้สะดวกขึ้น การจัดวางสไตล์นี้ไม่มีกฎ แต่เน้นความพอดีเป็นหลัก
นิยมจัดวางในห้องที่มีโทนสีเดียว หรือห้องที่ใช้โทนสีใกล้เคียงกัน แล้วแทรกสีสดบนผนัง
หรือวางเก้าอี้รูปทรงเก๋ๆ ถ้าอยากได้ห้องแบบนี้ต้องทำอย่างไร เรามีวิธีง่ายๆดังนี้
* ย้ายเฟอร์นิเจอร์ออกไปบ้าง เพราะการจัดวางแบบนี้ต้องการความโล่ง และเรียบร้อย จัดวางของให้เข้ากลุ่มกัน
ของที่ไม่ได้ใช้ก็เก็บให้เป็นที่ ถ้าอยากโชว์เก้าอี้ตัวสวย แนะนำให้วางแค่หนึ่งตัว
มิฉะนั้นจะแย่งกันเด่น และทำให้ห้องดูวุ่นวายจากสีสันที่มีมากเกินไป
* งานศิลปะสวยๆเหมาะกันดีกับห้องสไตล์นี้ เลือกงานศิลปะที่เรียบง่ายในแนวแอ๊บสแตร็คท์ จะเป็นสีเดียวกัน
หรือเป็นคู่สีตรงข้ามของเฟอร์นิเจอร์ ที่ต้องการให้เป็นจุดเด่นก็ได้
ห้องสไตล์โมเดิร์นแบบนี้เปรียบได้ กับงานศิลปะแบบจัดวาง จัดวางสีสัน และของใช้ให้พอดีกับห้อง
ไม่มาก และไม่น้อยเกินไป
4.เหลี่ยมๆ กลมๆ ผสมผสาน
การจัดวางโดยใช้ระบบจีโอเมสทรี ( Geometry) หรือใช้รูปทรงเป็นองค์ประกอบในการจัดวาง
มีหลักการง่ายๆ เพียงแค่เลือกเฟอร์นิเจอร์ทรงเหลี่ยม ไม่ว่าจะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า สี่เหลี่ยมจัตุรัสไว้กลุ่มหนึ่ง
อีกกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มของเฟอร์นิเจอร์ทรงโค้ง ทั้งทรงกลม และทรงรี จากนั้นนำทั้งสองกลุ่มมาจัดวาง
โดยอาจแบ่งเปอร์เซ็นต์ของเฟอร์นิเจอร์ภายในห้องเป็น 70 : 30 เช่น รูปทรงสี่เหลี่ยม 70 เปอร์เซ็นต์ ให้เป็นหลัก
และรูปทรงกลม 30 เปอร์เซ็นต์ เป็นตัวเสริม ควรเพิ่มของตกแต่งที่มีรูปทรงในสัดส่วนที่น้อยกว่า เพื่อความสมดุล
สัดส่วนเหล่านี้ไม่ใช่หลักการตายตัว สามารถสลับได้ตามความชอบ หรือจำนวนเฟอร์นิเจอร์ที่มีอยู่ในบ้าน
เรื่อง : อัจฉรา จีนคร้าม
ที่มา บ้านและสวน
เบื่อการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ในห้องนั่งเล่นเดิม ถ้าลองย้าย หรือสลับมุมบ้างก็น่าจะดี
แต่จะทำอย่างไร ยังนึกไม่ออกเลย ... ไม่ต้องกังวล เรามี 4 วิธีจัดห้องรับแขก ที่ทำง่าย โดนใจ
และยังคงการใช้งานไว้ได้อย่างครบถ้วน
1.ตัดใจไม่ลง (ของเก่า-ของใหม่)
วิธีการผสมผสานของเก่ากับของใหม่ไม่ยากอย่างที่คิด เพียงแค่ต้องเลือกก่อนว่า
อยากให้ห้องมีบรรยากาศแบบไหน ถ้าชอบอารมณ์เก่าๆ ก็ใช้ของเก่ามากหน่อย
แล้ววางเฟอร์นิเจอร์สมัยใหม่เรียบง่ายเป็นจุดเด่น แต่ถ้าอยากได้อารมณ์ของใหม่เป็นตัวนำ ให้เลือกใช้เก้าอี้
หรือเฟอร์นิเจอร์เก่าแต่เก๋า เช่น มีรูปทรงที่เด่นชัด หรือใช้วัสดุที่เตะตาแต่ต่างสไตล์กัน ยกตัวอย่าง
ถ้าผนังเป็นปูนเปลือยแบบดิบ ลองหาเฟอร์นิเจอร์ใหม่สีจัดจ้า และเฟอร์นิเจอร์ไม้เก่ามาจัดวางร่วมกันสัก 2-3 ตัว
2.เดินสบาย ... ทางสะดวกด้วยขอบเขตแห่งสี
ทางเดินสัญจรภายในห้องเป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง ที่ควรนึกถึงเป็นอันดับต้นๆ เพราะ การจัดวางแปลนที่ดี
ควรมีระยะการใช้งานที่คล่องตัว ไม่เกะกะจนเดินไม่ได้ และไม่กว้างเกินไปจนห้องโหรงเหรง
โดยมาตรฐานแล้ว ทางเดินสัญจรภายในห้องที่เหมาะสม ควรเว้นไว้ประมาณ 90-120 เซนติเมตร
สามารถเดินสวนกันได้โดยไม่ชนกัน นอกจากนี้ การเว้นทางสัญจรในส่วนทางเชื่อมให้มากกว่า
ปกติประมาณ 120 -150 เซนติเมตร เช่น โถงหน้าบ้านที่ติดกับห้องนั่งเล่น ก็ช่วยแยกการใช้งานได้ชัดเจนขึ้น
โดยอาจแยกพื้นที่ด้วยวัสดุปูพื้น เช่น ไม้หรือพรม
อีกทางหนึ่งที่ง่าย และชัดเจนคือ สีสัน ที่ช่วยให้ห้องเป็นระเบียบ และทันสมัย
ถ้าเป็นสีสดอย่างคู่สีตรงข้ามก็เหมาะกับบ้านสไตล์โมเดิร์น ช่วยเพิ่มความสดชื่น
หรือถ้าเป็นโทนสีใกล้เคียงกัน ก็เหมาะกับบ้านสไตล์คอนเทมโพรารี
3.วางอย่างมีศิลปะ
ใครว่าการจัดวางแบบนี้ดูโล่ง และตั้งใจเกินไป เราว่าวิธีนี้สามารถดึงความเป็นศิลปินในตัวเจ้าของห้องออกมาได้
เป็นอย่างดี เพราะการจัดวางแบบนี้ เป็นแบบตามใจตัวเองสุดๆ ไม่ว่าจะวางโซฟากับเก้าอี้แค่ตัวเดียวในพื้นที่โล่ง
นำหมอนใบใหญ่มาวางที่พื้น หรือจะวางของใช้ใกล้มือรวมกลุ่มบนโต๊ะให้ใกล้มือยิ่งกว่าเดิม
เพื่อให้ใช้สอยได้สะดวกขึ้น การจัดวางสไตล์นี้ไม่มีกฎ แต่เน้นความพอดีเป็นหลัก
นิยมจัดวางในห้องที่มีโทนสีเดียว หรือห้องที่ใช้โทนสีใกล้เคียงกัน แล้วแทรกสีสดบนผนัง
หรือวางเก้าอี้รูปทรงเก๋ๆ ถ้าอยากได้ห้องแบบนี้ต้องทำอย่างไร เรามีวิธีง่ายๆดังนี้
* ย้ายเฟอร์นิเจอร์ออกไปบ้าง เพราะการจัดวางแบบนี้ต้องการความโล่ง และเรียบร้อย จัดวางของให้เข้ากลุ่มกัน
ของที่ไม่ได้ใช้ก็เก็บให้เป็นที่ ถ้าอยากโชว์เก้าอี้ตัวสวย แนะนำให้วางแค่หนึ่งตัว
มิฉะนั้นจะแย่งกันเด่น และทำให้ห้องดูวุ่นวายจากสีสันที่มีมากเกินไป
* งานศิลปะสวยๆเหมาะกันดีกับห้องสไตล์นี้ เลือกงานศิลปะที่เรียบง่ายในแนวแอ๊บสแตร็คท์ จะเป็นสีเดียวกัน
หรือเป็นคู่สีตรงข้ามของเฟอร์นิเจอร์ ที่ต้องการให้เป็นจุดเด่นก็ได้
ห้องสไตล์โมเดิร์นแบบนี้เปรียบได้ กับงานศิลปะแบบจัดวาง จัดวางสีสัน และของใช้ให้พอดีกับห้อง
ไม่มาก และไม่น้อยเกินไป
4.เหลี่ยมๆ กลมๆ ผสมผสาน
การจัดวางโดยใช้ระบบจีโอเมสทรี ( Geometry) หรือใช้รูปทรงเป็นองค์ประกอบในการจัดวาง
มีหลักการง่ายๆ เพียงแค่เลือกเฟอร์นิเจอร์ทรงเหลี่ยม ไม่ว่าจะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า สี่เหลี่ยมจัตุรัสไว้กลุ่มหนึ่ง
อีกกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มของเฟอร์นิเจอร์ทรงโค้ง ทั้งทรงกลม และทรงรี จากนั้นนำทั้งสองกลุ่มมาจัดวาง
โดยอาจแบ่งเปอร์เซ็นต์ของเฟอร์นิเจอร์ภายในห้องเป็น 70 : 30 เช่น รูปทรงสี่เหลี่ยม 70 เปอร์เซ็นต์ ให้เป็นหลัก
และรูปทรงกลม 30 เปอร์เซ็นต์ เป็นตัวเสริม ควรเพิ่มของตกแต่งที่มีรูปทรงในสัดส่วนที่น้อยกว่า เพื่อความสมดุล
สัดส่วนเหล่านี้ไม่ใช่หลักการตายตัว สามารถสลับได้ตามความชอบ หรือจำนวนเฟอร์นิเจอร์ที่มีอยู่ในบ้าน
เรื่อง : อัจฉรา จีนคร้าม
ที่มา บ้านและสวน